Tuesday, September 22, 2009

Low Cost Strategy on Perishable Emotion

เขียนเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2552

พอดีได้อ่านบทความจากนักวิชาการพูดถึงกรทำ Low Cost Strategy ของฝรั่งที่ประสบความสำเร็จอย่างเช่นปรากฏการณ์ของ Innovation ทาง Business ใหม่ๆในอุตสาหกรรมการบิน อย่างที่ประสบความสำเร็จเช่น Ryan Air หรือ Easy Jet ว่าบางครั้งเราไม่จำเป็นที่จะต้องสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ High-Tech / High-Touch เพียงแค่เรา Shift มุมมองของตลาดและความต้องการของผู้บริโภคได้ก็สามารถเจาะตลาดโดยสินค้าและบริการใหม่ๆได้

ทั้งนี้ได้มีการ Recommend ในการนำ Strategy เหล่านี้เข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆเช่นการลด Cost และเพิ่ม Process Efficiency ในการสร้าง Low Cost Delivery Product เช่น Pizza หรือ Fast Food อื่นๆำได้ โดยถ้าใช้วิธีการเดียวกับการจองตั๋วเครื่องบิน ยิ่งจองนานจะได้ราคาถูกเพราะการจองนั้นเขาจะวางแผนในการทำ Material Planning ได้ ซึ่งพอผมอ่านผมก็ตระหงิดๆบางอย่างตรงนี้ผมว่าถ้ามองใน Concept และทฤษฎีอาจจะถูก แต่ว่าในความจริงแล้วไม่น่าจะ Apply ได้กับทุก Product โดยเฉพาะสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ยิ่งราคาถูกผมว่ายิ่งทำ Low Cost Strategy แบบการจองไม่ได้เลยล่ะ

ทั้งนี้ผมมองว่ามนุษย์นั้นมีเรื่องที่เกี่ยวข้อง Perishable Emotion ผมขอนิยามคำนี้เองว่าหมายถึงอารมณ์ของคนสามารถเน่าเสียได้ สินค้าประเภทพวกอาหารนั้นยังไงผมก็มองว่าคงไม่มีใครจะวางแผนหรอกว่าในอีก 1 อาทิตย์ข้างหน้าเขาจะทานอะไร จะกินพิซซ่าแน่หรอเพราะใจคนสามารถเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาได้ ถ้าเราลองไปดู Maslow Need Theory ก็จะเห็นได้ว่าเรื่องของการมันอยู่ในเรื่องขอ Physical need ความต้องการพื้นฐานมันจะมีฐานใหญ่ที่สุดนั่นผมว่ามันก็แสดงผลด้วยว่ายิ่งความต้องการมันเป็นพื้นฐานมันยิ่งมี Emotion ที่ืยืดหยุ่นได้สูงที่จะตัดสินใจทำหรือไม่ทำอะไร

ซึ่งตรงนี้ถ้าเราอยากให้สินค้าเรามันสังจองได้มันจะต้องมี Value เกิดขึ้นที่สินค้าอื่นๆทดแทนไม่ได้ หรืออย่างน้อยต้องมี Concept บางอย่างที่ทำให้คนต้องจอง เช่น เป็นร้านอาหารราคาแพง ขายอร่อยมาก ต้องจองโต๊ะล่วงหน้าก่อน หรืออาจะเห็นได้ชัดขึ้นในเรื่องกระเป๋า Brand Name บางยี่ห้อที่จะต้องสั่งจองล่วงหน้า 6 เดือนเพื่อที่จะได้มา ซึ่งถ้าต้องจอง 6 เดือนพี่ซื้อกระเป๋า Low Cost ผมว่า บางทีไปหาที่อื่นเอา็ได้ หรืออาจจะต้องเป็นสินค้าที่มี Concept ของมันให้เกิดการจองเช่นสินค้า Occasional ที่ต้องจองล่วงหน้าเช่นวันสำคัญต่างๆ วันเกิด วันรับปริญญาหรือวันสำคัญอื่นๆ ซึ่งผมว่าน่าจะมีโอกาสจะทำ Low Cost ได้สูงกว่า

ทั้งนี้ผมว่าจริงๆแล้วทฤษฎีบางอย่างที่เสนอมานั้นอาจจะดูเหมือน Applicable ถ้าเราดูในเชิงหลักการและ Modeling แต่อย่าลืมว่าในโลกแห่งความเป็นจริงแล้วตลาดมันค่อนข้างมีเงื่อนไขเยอะในการทำธุรกิจ เราต้องแม่นในเรื่องนี้อย่างสูงไม่เช่นนั้นเราก็ต้องเหนื่อมากขึ้นในการเข้าไปแย่งธุรกิจกับเขานะครับ

No comments:

Post a Comment